สภาพทางสังคม
     
สภาพทางสังคม สภาพทางสังคม
   
 
1. สภาพทางสังคม
1.1 การศึกษา
1. สถานศึกษาที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางศาลา(ระดับก่อนศึกษา)
จำนวนห้องเรียน จำนวน    2 ห้อง
จำนวนนักเรียน 28 คน
จำนวนครู อาจารย์ 2  คน
ที่มา : งานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ข้อมูล ณ วันที่  10 มิถุนายน 2564
2. สถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่
1.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดคงคาวดี (ระดับก่อนศึกษา)
2. โรงเรียนวัดบางไทร (ระดับปฐมศึกษา)
3. โรงเรียนวัดบางศาลา (ระดับปฐมศึกษา)
4. โรงเรียนวัดหงส์แก้ว (ระดับปฐมศึกษา)

1.2 สาธารณสุข
1. ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางไทร  
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางศาลา  
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางขลัง  
2. ศูนย์บริการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง
- พยาบาล จำนวน 3 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จำนวน 1 คน
- นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 4 คน
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 103 คน
3. ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
ก. โรคความดันโลหิตสูง
ข. โรคไขมันในเลือดสูง
ค. โรคเบาหวาน
ง. ปวดกล้ามเนื้อ
จ. โรคไข้หวัด
ฉ. โรคคออักเสบเฉียบพลัน
ช. อาการผืนแพ้
ซ. อาการทางระบบรับความรู้สึก
ฌ. ไอ

 

ที่มา :  ศูนย์บริการสาธารณสุขตำบลบางศาลา
 

โรคติดต่ออันตราย (ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  .. ๒๕๕๘)

เมื่อเดือนธันวาคม 2562  ได้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เมืองอู่ฮั่น  มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน  เชื่อว่าไวรัสนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีต้นกำเนิดจากสัตว์  ยังไม่ทราบต้นกำเนิดแท้จริง แต่ในเดือนธันวาคม 2562 การแพร่กระจายการติดเชื้อเกิดขึ้นแทบทั้งหมดจากคนสู่คน ยืนยันแล้ว 41 รายแรก  ซึ่งตีพิมพ์ในเดอะแลนซิตเมื่อเดือนมกราคม 2563  เปิดเผยว่าวันเริ่มต้นอาการวันแรกสุดได้แก่วันที่ 1 ธันวาคม 2562  สิ่งพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการจาก  WHO รายงานว่าอาการเริ่มต้นเร็วที่สุดคือวันที่ 8 ธันวาคม 2562  WHO และทางการจีนยืนยันการติดต่อจากคนสู่คนในวันที่ 20 มกราคม 2563  เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019  อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส โดยทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และแพร่ระบาดมายังประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอีกหลายประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้  เขตการปกครองพิเศษ (ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊าสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น  มีแนวโน้มที่สูงขึ้น  และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ทำให้ต้องยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 2 และยกเป็นระดับ เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย  ได้ประกาศชื่อว่า  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))  เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.. ๒๕๕๘  ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้คนได้อย่างรวดเร็ว  มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย  หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ  ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว  และถึงขั้นเสียชีวิต  มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก  จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การ

          ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น โรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และกลายพันธ์ไปเรื่อยๆ การแพร่กระจายของเชื้อรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธ์เดิม

          ในประเทศไทยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  สะสม  ๑๗๓,๗๔๒,๔๒๖  ราย  เสียชีวิต  ๓,๗๓๖,๙๗๔  ราย  ข้อมูล  ณ  วันที่   ๖  มิถุนายน  2564  ในประเทศไทย  ผู้ป่วยยืนยันสะสม  ๑๗๗,๔๖๗  เสียชีวิต  1,2๓๖  ราย  หายป่วยสะสม ๙๙,๐๙๑ ราย ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 256(จากเว็บลิงค์ของกรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no520-060664.pdf)    แต่ละประเทศก็ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง  ป้องกัน  ควบคุม  รักษา เยียวยา  ฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งวิธีการคัดกรอง  ล๊อคดาวน์ประเทศ  เมือง  งดเที่ยวบิน  จำกัดเที่ยวบิน  การกักตัว  การปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสถานที่ที่เกิดโรค  การใช้ชีวิตแบบใหม่ สวมใส่หน้ากากเมื่อออกดจากเคหะสถาน  ที่พัก  เว้นระยะห่างทางสังคม  หมั่นทำความสาอดมือ  หลีกเลี่ยงการไปยังพื้นที่เสี่ยง  ออกกฎหมายควบคุมผู้ที่ฝ่าฝืน  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  ประกอบกับมีสถาบัน บริษัท  ประเทศต่างๆ ได้ผลิตวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชนในการป้องกันโรคนี้และได้กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ  ขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอ  การแพร่ระบาดยังสูงขึ้นเรื่อยๆ  และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดการระบาดเมื่อไหร่ 

 

                                                                                                                        สำหรับในพื้นที่ตำบลบางศาลา  พบผู้ที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019   จำนวน  ราย  ได้รับการรักษาหายแล้ว  องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา  ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน  หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง  ป้องกัน  และควบคุมโรคอย่างเต็มที่

1.3 อาชญากรรม

          องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลามีหน่วยบริการประชาชนตำบลบางศาลา  ตั้งอยู่หมู่ที่ ตำบลบางศาลา  ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  และองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา มีหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คอยควบคุมดูแล เตรียมการและอำนวยความสะดวก ในการป้องกัน   บรรเทาและระงับสาธารณภัย เพื่อให้พร้อมบริการได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ และประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา  ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  ไม่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนและของราชการ  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น  องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณถนนสายหลักที่เชื่อมไปยังแต่ละหมู่บ้านในตำบลบางศาลา  และ  หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา  รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ  จุดสกัด  จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน 

1.4 ยาเสพติด

ปัญหายาเสพติดในองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา  จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอปากพนังได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาทราบนั้นพบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลามีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ  ประชาชน  หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 

ข้อมูลยาเสพติด ต.บางศาลา และ ต.บางตะพง

1.  มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครัวเพื่อจำหน่าย ผู้ต้องหา 3 ราย เหตุเกิด หมู่ที่ 8 และ หมู่ที่ 5

2.  มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามีน)ไว้ในครอบครัว ผู้ต้องหา 1 รายเหตุเกิด  หมู่ที่ 8

3.  เสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามี) ผู้ต้องหา 5 ราย เหตุเกิด ม.9 และ ม. 7

 

 

 

 

1.5 การสังคมสงเคราะห์

(องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์   ซึ่งปัจจุบัน มีผู้สูงอายุ  748  คน  ผู้พิการ 166  คน  ผู้ป่วยเอดส์  คน  (ข้อมูล  ณ  วันที่ 13 กันยายน  พ..2564) 

(รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

(ประสานการทำบัตรผู้พิการ

(ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป

(ดำเนินการช่วยเหลือ  เยียวยา  ฟื้นฟู  การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกรณี  เกิดสาธารณภัยในพื้นที่

(การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 

()  อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน

(จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ

(ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด  อำเภอ  หน่วยงานต่างๆ  ที่ให้การสนับสนุน

 

   
 
 
 
     
     
 
ประกาศเมื่อ 14 กันยายน 2566